คำว่า “Toxic work environment” ประกอบด้วย คำว่า ‘Toxic’  ซึ่งมีความหมายว่า “เป็นพิษ” หรือ “มีพิษ”  และ คำว่า ‘work environment’ ซึ่งแปลว่า “สภาพแวดล้อมในการทำงาน ”   เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายว่า “สภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานอย่างเป็นสุข และมีประสิทธิภาพ” หรือ “บรรยากาศการทำงานเป็นพิษ”

การฝืนทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ Toxic หรือ เป็นพิษ ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของคนทำงานอย่างมาก  ดังนั้น คุณต้องเรียนรู้ที่จะตรวจจับสัญญาณว่า ที่ทำงานของคุณมีสภาวะเป็นพิษหรือไม่ เพื่อให้คุณสามารถดำเนินการรับมือได้อย่างเหมาะสม ก่อนจะตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อไป หรือ ลาออก………………..

สัญญาณบ่งชี้  Toxic work environment

1.พนักงาน ‘ป่วย’ เยอ – Toxic work environment ส่งผลให้พนักงานทุกคนรู้สึกไม่มีกะจิตกะใจในการทำงาน หมดเรี่ยวหมดแรง เนื่องจากความเครียดที่มีต่อร่างกายและจิตใจของเรา ถ้ามีคนลาป่วยเยอะๆ นั่นละ….สัญญาณเบื้องต้น

2. หัวหน้างานบ้าอำนาจ – หัวหน้าของคุณ ทำตัววางอำนาจ บังคับให้คุณเห็นด้วยกับเขาตลอดเวลา ห้ามมีการโต้เถียงใดๆ

3.บรรยากาศในสถานที่ทำงานดูหดหู่ – ลองมองไปรอบๆ ออฟฟิศของคุณ แต่ละวันคุณเห็นใครที่ทำงานอย่างมีความสุขไหม? เห็นใครที่มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไหม? ได้ยินการสนทนากันอย่างมีชีวิตชีวา สนุกสนานบ้างไหม? ถ้าทุกคำถาม คุณตอบว่า ‘ไม่’ ก็แปลว่า คุณกำลังอยู่ใน Toxic workplace

4. ขาดการติดต่อสื่อสาร – คุณและเพื่อนร่วมงานของคุณไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการทำงานตามหน้าที่ๆ ได้รับมอบหมาย และแม้คุณจะขยันทำงานมากแค่ไหน คุณก็ไม่เคยได้รับคำชมใดๆ หรือมีใครเห็นคุณค่าของคุณ

5. อัตราการลาออกของพนักงานสูง – แน่ละ… ไม่มีใครอยากทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แย่

6. การรวมกลุ่ม ซุบซิบ-นินทา – ในออฟฟิศมีการทะเลาะ การซุบซิบ-นินทา ระหว่างพนักงานด้วยกันอยู่บ่อยๆ

วิธีรับมือ Toxic work environment

1. หาเพื่อนรู้ใจ – มีมิตรไว้อุ่นใจเสมอ! คุณควรผูกมิตรกับผู้ที่รู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ในออฟฟิศเช่นเดียวกับคุณ เพื่อสนับสนุน แชร์ข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือกันยามยาก

2. หาอะไรทำแก้เครียดหลังเวลาเลิกงาน – ไปออกกำลังกาย จัดบ้าน หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทำชีวิตให้ของคุณนอกรั้วออฟฟิศให้เต็มร้อย

3.กำหนดรายการสิ่งที่ต้องทำ – การกำหนดรายการสิ่งที่ต้องทำ และทำตามรายสิ่งที่คุณเขียนไว้จะช่วยให้คุณสามารถโฟกัสอยู่กับงานของคุณ แทนที่จะไปสนใจกับสิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวในออฟฟิศ

4. บันทึกทุกอย่างที่คุณทำไว้เป็นหลักฐาน – เก็บอีเมล จดบันทึกข้อเสนอแนะ และการตัดสินใจทุกๆ อย่างจากที่ประชุม จากการสนทนาทางโทรศัพท์ และจากทุกๆ คนที่คุณสนทนาด้วย เพื่อให้คุณมีหลักฐานมาสนับสนุนการยื่นเรื่องร้องทุกข์ของคุณหากจำเป็น

5. วางแผนการลาออกไว้ให้พร้อม – แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ว่าในอนาคต สถานการณ์ในที่ทำงานของคุณอาจจะดีขึ้น และคุณอาจจะตัดสินใจอยู่ทำงานที่เดิมต่อไป แต่คุณควรเตรียมหางานใหม่ไว้ให้พร้อม เพื่อให้คุณมีความหวัง หากว่าสถานการณ์เลวร้ายลงจนคุณจำเป็นต้องออกจากงานจริงๆ

 

……………………………………

แปลและเรียบเรียงจาก

https://www.topresume.com/career-advice/how-to-handle-toxic-work-environment

Category:

Passion in this story