“ศุภชัย เจียรวนนท์” ชี้วิกฤติมาพร้อมโอกาสมากมาย มองจุดแข็งสังคมไทยชอบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จนผ่านพ้นโควิดมาได้

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP Group ในฐานะนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand) ร่วมเสวนางานประชุมออนไลน์ระดับโลกในหัวข้อ Reflections on Change & Roadmaps to Recovery” หรือ “การทบทวนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมปูทางสู่การฟื้นตัว” หนึ่งในหัวข้อการประชุม UN Global Compact Virtual Leaders Summit 2020 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงวันที่ 15-16 มิถุนายนที่ผ่านมา

นายศุภชัยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัญหาใหญ่กว่าวิกฤติโควิด-19 หลายเท่า แม้ว่าวิกฤติโควิด-19 จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก กลายเป็นสิ่งท้าทายเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ของทุกคน

วิกฤติโควิด-19 ปลุกให้ภาคธุรกิจตื่นตัวและเร่งเครื่องสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็น ”โอกาส” ที่ดีในการผลักดันการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงใหม่ ที่ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

วิกฤติโควิด-19 ยังเป็นโอกาสที่ภาคธุรกิจและภาคราชการ จะได้ปรับตัวพัฒนาตัวเองให้พร้อมที่จะรองรับอนาคต และยังเป็นโอกาสดีที่จะปรับปรุงเรื่องอื่น ๆ เช่น การศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นต้น

“ตอนนี้เป็นเวลาที่ดีที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นจริง”

ในส่วนของ เครือซีพี ได้ปรับตัวรับมือรับสถานการณ์ดังกล่าวหลายเรื่อง ส่วนแรกเลยคือประกาศดูแลรักษาพนักงาน และรักษาธุรกิจให้เดินหน้าต่อไป..

Link : บทความที่น่าสนใจ
ความยั่งยืน กระแสใหญ่ปี 62
นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแนะทุกฝ่ายใช้บทเรียนจาก โควิด-19 รับฟังข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น
ธนินท์ เจียรวนนท์ – แบบอย่างผู้นำ ในเวทีธุรกิจระดับเอเชีย

นอกจากนี้ ได้ เพิ่มมาตรการเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากเครือซีพีมีธุรกิจหลักเกี่ยวกับอาหารซึ่งมีความเสี่ยงสูง ขณะเดียวกันก็เร่งช่วยสังคมโดยเฉพาะทีมงานด้านสาธารณสุข ด้วยการสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยขึ้นภายในเวลา 5 สัปดาห์ มีกำลังการผลิตราว 3 ล้านชิ้นต่อเดือน

ขณะเดียวกัน เครือซีพียังมีการปรับทักษะในการทำงานและสร้างงานใหม่ สอดคล้องกับสถานการณ์ อาทิ e-Commerce การให้ความรู้และสร้างความตระหนัก ส่งเสริมความโปร่งใสผ่านการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านกลไกที่มีอยู่ อาทิ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่นเดียวกับที่บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเรื่องบรรษัทภิบาล

นายศุภชัยมองว่า ผู้นำในวันนี้ต้องนำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) และมีจิตสำนึก (Mindset) ด้านความยั่งยืน เป็นตัวอย่างที่ดี มีวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ และที่สำคัญ คือ ควรเห็นความสำคัญของการร่วมมือ เพราะเราไม่สามารถก่อให้เกิดความยั่งยืนเพียงลำพัง จำเป็นต้องอาศัยการสร้างพันธมิตร ความร่วมมือแบบประชารัฐ (Public Private Partnership)

นอกจากนี้ ยังมองเรื่องนวัตกรรมว่า “นวัตกรรมไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีแต่รวมถึงความคิด” โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม และการลงทุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี โดยการดึงคนรุ่นใหม่มาร่วมงาน

ปิดท้ายด้วยแนวคิดเรื่อง จุดแข็งของสังคมไทย ซึ่งเป็นสังคมที่มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือกันเมื่อเกิดวิกฤติ การร่วมมือร่วมใจทำให้สามารถผ่านปัญหาไปได้ นี่คือเรื่องดี ๆ ที่จะบอกต่อเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้


ข้อมูลเพิ่มเติม
globalcompact
registration

Passion in this story