ชัยเสรี เมททอล แอนด์ รับเบอร์ เป็นหนึ่งในบริษัทผลิตยุทโธปกรณ์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เริ่มดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี 2506 ปัจจุบันดำเนินธุรกิจมาแล้วกว่า 60 ปี โดยมีมาดามรถถัง ดร.นพรัตน์ กุลหิรัญ รองประธาน บริษัท ชัยเสรี เมททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด เป็นผู้บุกเบิกและปลุกปั้นธุรกิจ จนปัจจุบันบริษัทเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปแล้วกว่า 40 ประเทศทั่วโลก

.

“โรงงานของเรา 100% ทำยุทโธปกรณ์เพื่อใช้ในประเทศเป็นความมั่นคงของประเทศ แล้วอีกส่วนหนึ่งเราทำการส่งออก ศักยภาพของผู้ผลิตในเมืองไทย นอกจากบริษัทเราชัยเสรีแล้ว ก็มีบริษัทคนไทยที่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการวิจัยพัฒนาตลอด สามารถผลิตยุทโธปรกณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในกองทัพ เพื่อความมั่นคงของประเทศได้มาก”

นพรัตน์ กุลหิรัญ รองประธาน  บริษัท ชัยเสรี เมททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด

.

อย่างไรก็ตาม มาดามรถถังเล่าถึง สาเหตุและปัญหาที่เกิดขึ้นว่า ทำไมตลอดหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยจึงไม่ประสบความสำเร็จกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

.

Burin : อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย กำลังเผชิญกับปัญหาอะไร ทำไมถึงพัฒนาช้ากว่าประเทศชั้นนำอื่นๆ

มาดามรถถัง : ชัยเสรี เริ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 โดยเซ็นสัญญาฉบับแรกกับกองทัพซึ่งเป็นสัญญาในการซ่อมรถในการผลิตเพื่อกองทัพ

ในปี พ.ศ.2526 กระทรวงกลาโหมมีหน่วยงานหนึ่งชื่อว่า หน่วยงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นที่ควบคุมดูแลผู้ผลิตทั้งหลาย เพราะการที่เราทำอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ ต้องมีใบอนุญาต ใบอนุญาตนี้ต้องขอกับอุตสาหกรรมทหาร และกระทรวงกลาโหม ซึ่งใบอนุญาตทั้งหมดมีอยู่ 5 ใบ

.

          ใบที่หนึ่ง ใบอนุญาตนำเข้าซึ่งวัตถุดิบที่จะทำมาผลิต เช่น ชัยเสรี เราผลิตรถเกราะล้อยาง เราก็ต้องนำเข้าเหล็กเกราะกันกระสุนกันระเบิด แล้วต้องมี

          ใบที่สอง ใบอนุญาตเก็บวัสดุอุปกรณ์ ใบที่สาม ต้องมีใบอนุญาตผลิต ใบที่สี่ ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย อย่างการจัดแสดงยุทโธปกรณ์ในวันเด็ก การเคลื่อนย้ายต้องขออนุญาต ไม่มีจะเป็นความผิด

.

และใบสุดท้าย เมื่อเราจะส่งยุทโธปกรณ์ขายในต่างประเทศ ต้องมีใบที่ห้า คือ ใบอนุญาตส่งออก เขาเรียก End User Certificated การทำอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ขีดความสามารถดีทำได้ คุณสมบัติดีขายได้ แต่การทำไม่ง่ายเลย ยากมาก แต่ทำได้ ก็ต้องมีการสนับสนุนจากภาครัฐ

รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการ

ในการทำธุรกิจในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เราผลิตสินค้าสามารถทำได้ไม่ยาก แต่หากจะให้ประสบความสำเร็จ ต้องขายเก่ง การขายเก่งต้องมาอันดับหนึ่ง เราจะผลิตอะไรก็ตามเราต้องขายให้ได้ ต้องมีเงิน ขายได้มีเงินจึงจะสามารถพัฒนาสินค้า เพื่อให้คุณสมบัติของสินค้าดีขึ้น ซึ่งจะต้องมีข้อสังเกตคือ

.

          1.เราผลิตแล้ว สินค้าเราขายได้ ประเทศไทยเราใช้หรือไม่ กองทัพต้องใช้ยุทโปกรณ์เราหรือไม่ การส่งออกไปประเทศใดก็ตาม เขาจะถามเสมอว่า อ้างอิงได้ไหมว่า ยุทโธปกรณ์ของท่านขายใครไปบ้างแล้ว กองทัพของประเทศท่านใช้หรือไม่ ถ้ากองทัพไทยยังไม่ใช้ ขายไปประเทศไหนก็ไม่มีใครซื้อ นั่นคือเราจะขายต่างประเทศได้ เราต้องมีการใช้ก่อน

.

         2.สินค้าต้องมีคุณภาพ มีมาตรฐาน ปัจจุบันเรามีมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม และปัจจุบันเรามีมาตรฐานจากกระทรวงกลาโหม โดยกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงกลาโหม จะมีการขึ้นมาตรฐานอุตสาหกรรม นวัตการรมใหม่ๆ เมื่อเราผลิตยุทโธปกรณ์แล้วได้มาตรฐาน ก็จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะขายยุทโธปกรณ์ไปยังต่างประเทศได้

.

ซึ่งประเทศที่สามารถส่งออกได้ ก็ต้องเป็นประเทศที่อยู่ในรายชื่อที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงกลาโหมเท่านั้น ซึ่งก็เป็นปัญหาอีกประการ เนื่องจากบางประเทศที่เราขายสินค้าได้ อาจจะไม่อยู่ในรายชื่อของกระทรวงกลาโหมก็ได้

.

การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้ดก้าวหน้า กองทัพจะต้องซื้อยุทโธปกรณ์จากผู้ประกอบการในประเทศก่อน ซึ่งปัจจุบันมีการซื้อน้อย กองทัพต้องสนับสนุนของในประเทศก่อน จึงจะมีการพัฒนาต่อไป ยกตัวอย่างประเทศเกาหลีใต้

.

งาน Defense & Security ที่เกาหลีใต้เชิญไป ภายในงานเขามีบริษัทมาจัดแสดงกว่า 400 บริษัทซึ่ง 100% เป็นบริษัทเกาหลีใต้ทั้งหมด ไม่มีบริษัทต่างชาติ ที่เขาทำได้เพราะเขามีความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงพาณิชย์ เชิญผู้ซื้อจาก 60 ประเทศทั่วโลกมาเยี่ยมชมในงาน โดยรัฐบาลเกาหลีใต้ออกค่าตั๋วเครื่องิบนและค่าที่พักให้ฟรี แต่ผู้ซื้อจะต้องอยู่ในงานตลอด 2 วัน ถ้าออกจากพื้นที่จัดแสดงงานก่อนกำหนด จะต้องจ่ายค่าที่พักเอง

.

ผู้ซื้อส่วนใหญ่ไม่อยากเสียค่าที่พัก ก็จะอยู่ในงานจนครบเวลา นี่คือข้อที่คามร่วมมือของเขา เลยทำให้สินค้าของประเทศเกาหลีที่เราเห็นมีการพัฒนาไปมาก มีการรวมตัวกันเป็นสมาคมภายใต้กระทรวงกลาโหม โดยกระทรวงกลาโหมเป็นผู้ควบคุมดูแล และสนับสนุนให้เกิดการขาย นี่คือการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้ผลผลิตของเขามีคุณภาพ ขายในประเทศได้ และส่งออกได้เยอะมาก

.

ผู้ประกอบการไทยประสบปัญหา

Burin : ทำไมผู้ประกอบการไทยประสบปัญหา

มาดามรถถัง : สาเหตุที่ผู้ประกอบการไทยไปไม่รอด  เราต้องย้อนกลับมาทบทวน ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ผลิตเรือ เรือรบ เช่น บริษัท มาร์ซัน หรืออู่กรุงเทพ ประสบปัญหาเพราะ ผลกระทบจากการนำเข้าเหล็ก เหล็กนำเข้าเสียภาษี 5% ภาษี Vat อีก 7% รวมเป็น 12% นั่นเป็นภาษีปกติ แต่ที่มีผลกระทบอย่างมากกับอุตสาหกรรม คือ รัฐบาลออกมาตรการปกป้องธุรกิจเหล็กในประเทศ โดยระบุว่า เหล็กนำเข้าทุกชนิด จะต้องเสียภาษีพิเศษที่เรียกว่า “มาตรการปกป้อง” ต้องเสียภาษีพิเศษอีก 40-47% รวมแล้ว ในการนำเข้าเหล็กจะต้องเสียภาษีกว่า 60% ซึ่งเหล็กที่เรานำเข้านั้นเป็นเหล็กชนิดพิเศษที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ แต่เราก็ต้องเสียภาษีตามมาตรการปกป้อง ขณะที่ยุทโธปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ กลับไม่เสียภาษีใดๆ เลย เรื่องนี้ไม่เป็นธรรมและส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการอย่างมาก ภาษีมาตรการปกป้องกำลังปกป้องอะไร? นีคือสิ่งที่รัฐบาลต้องพิจารณา สนับสนุนผู้ประกอบการอย่างไร ทำไมถึงต้องเสียภาษี 60%

.

รัฐบาลต้องหันกลับมาดู ว่ากำลังสนับสนุนหรือกำลังทำร้ายผู้ประกอบการในประเทศ เฉพาะเรื่องภาษีนี้ รัฐบาลหารือมา 10 ปียังไม่ได้รับคำตอบ

.

Burin : อยากให้ยกตัวอย่างยุทโธปกรณ์ที่ต่างชาติให้การยอมรับ

มาดามรถถัง :  บริษัทชัยเสรี เป็นบริษัทคนไทย100% แล้วเราก็ออกแบบผลิตเอง ได้แก่พวกข้อต่อสายพาน ล้อกดสายพาน สำหรับรถหุ้มเกราะ แล้วเราก็ออกแบบเอง สร้างเองทุกชิ้นเลย เช่น รถ First Win สายพานหุ้มเกราะ ทำเองในประเทศไทยแล้วส่งออกขาย 44 กองทัพทั่วโลก

.

เมื่อปี พ.ศ.2564 เป็นความภาคภูมิใจที่เราได้ส่งรถเกราะล้อยาง รถพยาบาลหุ้มเกราะ กันกระสุน กันระเบิด ไปเป็นรถพยาบาลในสนามรบ ตอนนี้ประจำการแล้วในสหประชาชาติ เป็นรถพยาบาล 1 คัน กับรถแบบอื่นอีก 15 คัน ปัจจุบันประจำการในสหประชาชาติ ที่เมือง Central Africa Republic หรือสหภาพแอพริกากลาง

.

“เป็นความภาคภูมิใจมาก ที่รถเกราะพยาบาลของชัยเสรี ได้รับคัดเลือกให้ประจำการที่สหประชาชาติ เป็นรถพยาบาลที่บริการตรวจรักษาให้ประชาชน มีคนเข้าแถวรอรักษาเป็นกิโลเมตร เพราะในภาวะสงครามรถธรรมดาเข้าไม่ได้เพราะมีอันตรายมาก รถหุ้นเกราะของเราจึงตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี นี่คือฝีมือคนไทย ช่วยเหลือประเทศชาติแล้วยังช่วยเหลือนานาชาติได้ อันนี้เป็นสิ่งที่ชัยเสรี กับพี่น้องประชาชนไทยน่าจะภาคภูมิใจ”

.

Burin : อนาคตของชัยเสรีและก้าวต่อไปของธุรกิจ และการทำเพื่อสังคม

มาดามรถถัง :  ในอนาคตนอกจากชัยเสรีแล้วเรามีเป้ามหาย พยายามจะรวบรวมขีดความสามารถคนไทย เราทำให้กองทัพไทยแล้ว เราก็ควรส่งออกเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ นั่นเป็นความตั้งใจอย่างยิ่งของเรา เราพยายามผลักดันเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 พอปีพ.ศ. 2553 ก็รวมกันอีกทีหนึ่งแล้วจัดตั้งเป็นสมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ เพื่อรวมกันผลักดันให้เติบโต

.

แต่สิ่งสำคัญคือ รัฐบาล โดยกระทรวงกลาโหมต้องเป็นผู้นำ ในเมื่อท่านเป็นผู้ควบคุมยุทโธปกรณ์ทั้งหมด ท่านต้องให้การสนับสนุน อะไรที่ติดขัดต้องช่วยกันแก้ปัญหา นี่คือ อนาคตของประเทศไทยในอาเซียน จึงควรสนับสนุนสินค้าเหล่านี้ให้ส่งออกให้มากที่สุด

Passion in this story