1. แม้สถิติการนำเข้าไม้จากจีนจะลดลง แต่ความต้องการผลิตภัณฑ์จากไม้ยังเพิ่มขึ้นจาก 70% เป็น 90%

  2. บ้านแปดอุ้มเป็นต้นแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืน ที่ชุมชนทำงานร่วมกับภาครัฐในการปกป้องและจัดการพื้นที่ป่าโดยรอบ

  3. แอปพลิเคชัน พิทักษ์ไพร แพลตฟอร์ม e-Tree และ NCAPS เป็นเทคโนโลยีหลักในการป้องกันและบริหารจัดการป่า

1 มิถุนายน 2566, อุบลราชธานี, ประเทศไทย: บ้านแปดอุ้ม ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าของประเทศไทย กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง จากพื้นที่ที่เต็มไปด้วยการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและการค้าไม้ผิดกฎหมาย  ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้กลายมาเป็นพื้นที่ต้นแบบการอนุรักษ์ป่า ภายใต้ความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ

.

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ป่าไม้ของประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายของอาชญากรรมป่าไม้  เนื่องจากประเทศไทยมีป่าเบญจพรรณที่อุดมด้วยไม้มีค่าที่เป็นที่ต้องการของตลาด องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รายงานว่า การค้าไม้ไปยังประเทศจีนมีบทบาทสำคัญต่อการลักลอบตัดไม้ในภูมิภาคนี้ แม้สถิติดังกล่าวจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากการปราบปรามการลักลอบตัดไม่อย่างเข้มงวด  และความจริงที่ว่าพื้นที่ป่าลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3 ของพื้นที่เดิม แต่ความต้องการไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 70 เป็นร้อยละ 90 จึงเป็นกดดันต่อการอนุรักษ์ป่าไม้ในภูมิภาคนี้อย่างมาก

บ้านแปดอุ้ม อุบลราชธานี

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ UN-REDD ได้ร่วมมือกับกรมป่าไม้และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เพื่อต่อต้านกับการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการค้าไม้ที่ยั่งยืน โดยเริ่มต้นที่บ้านแปดอุ้ม ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นโครงการต้นแบบที่ภาครัฐและชุมชนสามารถร่วมมือกันในการปกป้องและบริหารจัดการป่าโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการค้าไม้อย่างยั่งยืน

.

แคทรีนา บอร์โรมิโอ เจ้าหน้าที่โครงการและการสื่อสาร โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เน้นย้ำว่า บ้านแปดอุ้ม เป็นต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงพลังและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐในการปกป้องพื้นที่ป่าจากการถูกทำลาย “โมเดลบ้านแปดอุ้มเรียกร้องให้สมาชิกในชุมชนท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นอาสาสมัคร เฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในป่าอย่างใกล้ชิด โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ” บอร์โรมิโอ อธิบาย หากพบพฤติกรรมต้องสงสัยหรือการลักลอบตัดไม้ชาวบ้านสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทันทีผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ เช่น แอปพลิเคชันพิทักษ์ไพร

.

การเสริมสร้างความเข้าใจของสมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับความสำคัญของป่าไม้เป็นสิ่งสำคัญ การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแข็งขันในการตรวจสอบพื้นที่บ้านของพวกเขาทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และยังส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการอนุรักษ์ป่า

บ้านแปดอุ้ม อุบลราชธานี

บ้านแปดอุ้มเป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจที่ชุมชนทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ ในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าจากผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า โดยอาสาสมัครชุมชนจะทำหน้าที่เป็นจิตอาสาในการสอดส่องดูแลป่าไม้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของชุมชน โดยดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากพบเห็นพฤติกรรมต้องสงสัย หรือผู้ลักลอบตัดไม้ก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ผ่านช่องทางการสื่อสารและแอปพลิเคชัน พิทักษ์ไพร ได้ทันที

.

การสร้างความเข้าใจให้กับชุมชน ให้ชุมชนเห็นคุณค่าและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ เป็นหนึ่งในการสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงานของรัฐในการปกป้องพิทักษ์ป่า โดยให้ชุมชนพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการช่วยสอดส่องดูแลพื้นที่บ้านในชุมชน และประสานการทำงานกับเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือที่ให้ผลในการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างเป็นรูปธรรม

.

ขณะเดียวกัน อ้อมจิตร เสนา นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการตรวจจับผู้กระทำผิด เช่น แอปพลิเคชัน พิทักษ์ไพร ระบบการลงทะเบียนต้นไม้ e-Tree รวมถึงระบบกล้อง NCAPS  ที่ในการตรวจจับผู้ต้องสงสัย รวมถึงใช้โดรนในการบินตรวจสอบพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถตรวจจับและแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้ได้อย่างทันท่วงที “เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำมาใช้ที่บ้านแอปดอุ้ม จ.อุบลราชธานี ซึ่งแสดออกงถึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผสานการทำงานร่วมกับชุมชนและภาครัฐ” อ้อมจิตร กล่าว

.

แอปพลิเคชัน พิทักษ์ไพร เป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ที่สามารถส่งการแจ้งเตือนเกี่ยวกับพฤติกรรมการบุกรุกในพื้นที่ต้องสงสัยว่าอาจจะเกิดการกระทำผิดกฎหมาย รวมถึงการแจ้งเตือนและติดตามสถานการณ์ไฟป่าได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มดิจิทัล e-TREE ที่มุ่งยกระดับการติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการป่าไม้ ช่วยในการขึ้นทะเบียนต้นไม้และตรวจสอบย้อนกลับต้นไม้ ซึ่งพิสูจนแล้วว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการส่งเสริมการค้าไม้อย่างยั่งยืน

ขณะที่ NCAPs เป็นระบบการทำงานระยะไกล ที่ประกอบด้วยกล้องและเซ็นเซอร์เพื่อเฝ้าระวังการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่เสี่ยง ทำงานร่วมกับหน่วยลาดตระเวนภาคพื้นดินซึ่งสามารถบันทึกและแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ เมื่อตรวจพบการเคลื่อนไหวที่น่าสงสัยผ่านกล้องได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงของการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่อาสาสมัครในพื้นที่ และผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ลักลอบตัดไม้ นอกจากนี้กล้องยังสามารถบันทึกภาพเพื่อใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีในชั้นศาลได้อีกด้วย ความสามารถนี้ช่วยให้ชุมชนสามารถติดตามภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในป่าของชุมชนโดยรอบได้ดีขึ้น รวมทั้งลดความเสี่ยงในการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า

.

บ้านแปดอุ้ม จึงเป็นพื้นที่ต้นแบบการอนุรักษ์ป่า ที่ชุมชนทำงานประสานกับหน่วยงานรัฐ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการและดูแลพื้นที่ป่าอย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องราวความสำเร็จนี้เป็นกรณีศึกษาสำหรับชุมชนอื่นๆ เพื่อช่วยให้ชุมชนเหล่านั้นสามารถปรับตัวและใช้รูปแบบการคุ้มครองป่าโดยชุมชนที่คล้ายคลึงกับกรณีของบ้านแปดอุ้มได้ 

.

ท้ายที่สุดการอนุรักษ์ป่าไม้เป็นหนึ่งในกิจกรรมของ UN REDD เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำให้ป่าเสื่อมโทรม ด้วยความพยายามร่วมกัน UN-REDD ให้อำนาจแก่ชุมชนในการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนซึ่งจะอนุรักษ์ป่าไม้ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปูทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น

 

.

 

Note to Editor

เกี่ยวกับ UN-REDD

UN-REDD เป็น โครงการความร่วมมือแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา โครงการนี้เป็นโครงการหลัก ของ UN knowledge and advisory platform เกี่ยวกับการแก้ปัญหาป่าไม้เพื่อรับมือกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากความสามารถและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และ UNEP ทำให้ UN-REDD เป็นผู้ให้บริการระหว่างประเทศรายใหญ่ที่สุดของความช่วยเหลือ REDD+ โดยช่วยเหลือประเทศพันธมิตร 65 ประเทศ ในการปกป้องผืนป่า เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ

Ban Pad Oom Community: a showcase of government-community cooperative efforts and the sustainable timber trade.

  • Although statistics show that there has been a decline in timber imports from China, however, demand for wood-related products has increased from 70% to 90%.

  • Ban Pad Oom is a conservation area model where the community works closely with government agencies to effectively nurture the surrounding forest areas.

  • The Phitak Prai application, e-Tree platform, and NCAPs, are key technologies that are used for forest conservation.

22 June 2023, Ubon Ratchathani, Thailand: The Lower Mekong Region is on the brink of change. From originally being an area plagued with illegal logging and timber trade, to a new era where the community jointly coordinates with government agencies to protect the forest. It has been developed into a model area for forest conservation based on a sustainable timber trade concept.

.

Over the years, Thailand’s forests have always been a prime target for crime as most its forest composes of a wide variety of deciduous valuable trees that is in high demand. According to the United Nations Food and Agriculture Organization (FAO), the increasing timber trade to China plays a major role in illegal logging in the region even though statistics show a declining trend due to strict clampdowns of illegal logging and the fact that forest areas have been reduced to only one-third of what it originally was, the demand for wood and wood-related products continues to rise from 70% to a staggering 90%, thus imposing a huge pressure on forest conservation efforts within the region.

.

However, over the years, the FAO has partnered with the Royal Forest Department and other related government agencies to mitigate this illegal logging trend on a continuous basis and create an environment for sustainable timber trade by establishing Ban Pad Oom at Dome Pradit Sub-district, Nam Yuen District, Ubon Ratchathani Province, as a model project where the government and the community can cooperate in forest conservation efforts with a goal of moving towards sustainable timber trade.

.

Katrina Borromeo, the Programme and Communications Officer, for the United Nations Environment Program (UNEP), stated that Ban Pad Oom has been established as one of the interesting case studies in which the local community can cooperate closely with government agencies in preserving the surrounding forest areas and protect it from illegal deforestation. The model calls for the local community to act as volunteers in keeping a close eye on their forest environment in close cooperation with government officials. If any suspicious behavior or illegal loggers are detected, the villagers can immediately notify the authorities through various communication channels, as well as the Pitak Prai application.

.

Creating an understanding for the community to enable it to appreciate and cherish forest resources is one of the cooperative efforts between the community and related government agencies in protecting its forests. It allows the local community to be part of the mechanism to help monitor their home area while at the same time fostering relations with government officials and thus resulting in a concrete forest conservation collaboration.

.

Meanwhile, the Royal Forest Department Modern has simultaneously applied various technologies to help detect transgressors, such as the Pitak Prai application, the e-Tree registration system, as well as the NCAPS camera system, which assists in detecting suspects, including the use of drones to help in effectively patrolling the area. These actions have made it possible to detect and resolve illegal logging problems in a timely manner. These technologies have been utilized at Ban Pad Oom in Ubon Ratchathani province as a model that showcases the collaborative efforts between the local community and the public sector.

.

The Pitak Prai application is an application installed on a smartphone that can send alerts regarding illegal trespasses within suspected areas, in addition to, alerting and monitoring forest fires in a timely manner. Moreover, there is also an e-TREE digital platform that is aimed at enhancing the monitoring of forest management and assists in the registration and traceability of trees, which has proved very helpful in promoting sustainable timber trade.

.

On the other hand, NCAPs are remote systems that consist of cameras and sensors to monitor illegal logging in critical risk areas that work hand in hand with ground patrols, which can record and alert the authorities when suspicious movement is detected through the cameras. This reduces the risk of clashes between the local volunteers and suspected illegal loggers. Additionally, the cameras can also record images which can then be used as evidence in court proceedings. This capability has enabled the community to better monitor threats in the surrounding community’s forests, as well as reduce the risk of illegal logging and deforestation.

.

Ban Pad Oom is, therefore, a showcase model for forest conservation in which the community works in close cooperation with the related government agencies with the use of modern technology to effectively manage and maintain its forest areas. It is one of the forest conservation models that other communities can effectively adapt and use as a case study for their respective areas and countries.

.

After all, forest conservation is among one of UN-REDD’s activities to reduce greenhouse gas emissions resulting from deforestation and degradation, while also maintaining carbon levels in forest areas, including conservation and managing forests in a sustainable manner.

.

About UN-REDD

UN-REDD, is the United Nations Joint Program on reducing greenhouse gas emissions from deforestation and degradation in developing countries. It is among one of the key projects of the UN Knowledge and Advisory platform on forestry solutions in response to the climate change crisis.

 .

About the UN Decade of Ecosystem Restoration

The UN Decade of Ecosystem Restoration 2021-2030, which is guided by the United Nations Environment Program (UNEP), the Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO), and its partners, covers work on terrestrial, as well as coastal and marine ecosystems, calls for global action, i.e. support from the government scientific research and financial support mechanisms, to enhance ecological restoration. Both the UN Decade of Ecosystem Restoration and UN-REDD have joined forces to lead the “Forest for Life” campaign.

Passion in this story