ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายเพื่อความอยู่รอดเสมอ จะหนักจะเบาบ้างตามสภาวะ แต่ในยุคหลังโควิดนี้ นับเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุดยุคหนึ่ง เพราะธุรกิจได้รับผลกระทบจากทั้งโควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจส่วนหนึ่งต้องล้มหายตายจากไป ขณะที่อีกส่วนหนึ่งต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ที่ซ้ำร้ายกว่านั้น ภาคธุรกิจยังต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลที่เข้ามาดิสรัปธุรกิจอย่างรวดเร็ว และรุนแรง และยังต้องเผชิญผลกระทบจากภัยสงครามและภาวะเงินเฟ้อ ยุคข้าวยากหมากแพง…

 

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ถ้าเป็นสมรภูมิสงครามคงฝุ่นตลบอบอวลเป็นแน่แท้ เหล่าธุรกิจที่เผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ จึงต้องมีสติ คิดพิจารณาแล้วปรับตัวให้ทันกับสภาวะที่เปลี่ยนไป…

 

Passion Talk EP053 นี้ จะเป็นบทสรุปการปรับตัวของธุรกิจในยุคหลังโควิดที่ต้องทำใน 2 เรื่องคือ  Sustainability และ Digital Transformation กับมุมมองที่เฉียบคมจากองค์กรระดับโลกอย่าง Dell และผู้บริหารระดับสูงในแถบเอเชีย คุณอโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร ตลาดเกิดใหม่ภูมิภาคเอเชียและกลุ่มธุรกิจคอนซูเมอร์ภูมิภาคเอเชียใต้

อยากให้เล่าถึงมุมมองความยั่งยืนของ Dell

เทรนด์ที่สำคัญแต่ไม่ได้เกี่ยวกับเทคโนโลยีมากนัก คือเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) ด้วยฐานความคิดที่ว่า โลกเราวันนี้เนี่ยมันเปลี่ยนแปลงเร็วเหลือเกิน บริบทของเทคโนโลยีก็ไปได้เร็ว ภาคของการบริโภคก็ไปได้เร็ว แต่ว่าข้างหลังเราอาจจะไม่ได้คิดถึงว่า บริโภคแล้วทำอย่างไรกันต่ หลายปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าโลกมีสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านของสภาพอากาศสูงมาก

 

Sustainability จึงกลายเป็นโครงสร้างหลักที่ทุกองค์กรจะต้องคำนึงถึง  ยกตัวอย่าง บริษัทเดลล์เทคโนโลยีส์ (Dell) ที่ Sustainability เป็นหนึ่งในแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ เรามีนโยบายเรื่องของ 2020 Legacy of Good  ตั้งแต่ปี 2013-2020 เน้นเรื่อง Carbon neutral และทำสำเร็จแล้ว

แต่เรายังรู้สึกว่าไม่เพียงพอ จึงเกิดอีกนโยบายหนึ่งเรียกว่าเป็น 2030 Moonshot Goal มองไปถึงปี 2030

 

เราตั้งเป้าจะนำสินค้าที่เราขายหรือเทียบเท่า กลับมารีไซเคิลให้ได้ 100% เช่น หากเราขายโน้ตบุ๊กได้ 100 ล้านเครื่อง เราต้องนำโน้ตบุ๊ก 100 ล้านเครื่องกลับมารีไซเคิลให้ได้ หรือเราขายเซิฟเวอร์ในเดต้าเซ็นเตอร์ 1 ล้านเครื่อง จะต้องนำกลับมารีไซเคิลให้ได้ 100% ในจำนวนที่เท่ากัน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ที่และท้าทายมาก

 

นอกจากนี้ Packaging สินค้าของ Dell 100% จะต้องทำมาจากวัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุรีนิวเวเบิล และ Component ที่อยู่ในอุปกรณ์ของเรา อย่างต่ำ 50% ต้องทำจากวัสดุรีไซเคิลและรีนิวเวเบิล อันนี้เป็น 3 เสาหลัก ที่จะ support งานด้านความยั่งยืนของเราจนถึงปี 2030 ทั้งหมดนี้ฟังดูเหมือนง่าย แต่ในทางปฏิบัติไม่ง่ายเลย สิ่งหนึ่งที่ Dell คิด คือการรีไซเคิลขยะพลาสติกด เช่น การนำ Ocean Plastic มารีไซเคิล ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก ที่เราทิ้งอย่างละเลย และสุดท้ายก็ไหลไปสู่ทะเลเป็น Micro Plastic กลับมาสู่ระบบนิเวศน์ คนกินก็อันตราย คนกินสัตว์ก็อันตราย เป็นความล่มสลายของระบบนิเวศ และไม่ใช่ว่าเอาพลาสติกมาหลอม แล้วรีไซเคิลได้เลย ต้องมีการ R&D มีนวัตกรรมด้วยว่า ทำอย่างไรให้บริสุทธิ์ ไม่ก่อสารพิษ นี่คือเรื่องของการนำ Ocean Plastic มาใช้

 

หรือการนำกระดาษมารีไซเคิล  นำคาร์บอนไฟเบอร์จากอุตสาหกรรมอวกาศหรือจักรยานมารีไซเคิล ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องมีนวัตกรรม มีการลงทุน R&D ขณะเดียวกัน Dell ก็มองไกลออกไปจนถึงปี 2050 กับนโยบาย Net Zero Emissions คือ ลดการปล่อยสิ่งมีพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ถือว่าเป็นพันธกิจ ที่ใหญ่มากที่เราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือกับเวนเดอร์ และซัพพลายเออร์ เช่น หากจะค้าขายกับ Dell ต้องเป็น Carbon Neutral อย่างน้อย 60%

 

นั่นคือการสร้างกระบวนการความยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตั้งแต่การสร้างนวัตกรรม สายการผลิต ซัพพลายเชน มาถึงเรื่องการเอาไปบริโภค  แล้วปลายทางคือการนำกลับมารีไซเคิล เป็นการคิดให้เป็นระบบแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และนั่นคือประเด็นที่ผมว่าสำคัญกับโลกเรา ในเรื่องของความยั่งยืน

 

“ผมกำลังจะบอกว่า องค์กรของไทยนอกจากจะขับเคลื่อนธุรกิจเข้าสู่ Digital Business แล้ว ควรจะต้องมีแนวนโยบายที่ชัดเจนเรื่องของ Sustainability ด้วย”

 

ความยั่งยืนนี้แต่ละอุตสาหกรรมอาจจะมีรูปแบบแตกต่างกัน แต่โดยพื้นฐานแล้วอยู่ในหลักคิดใกล้ๆ กัน การทำให้ซัพพลายเชนเราอยู่ในระบบ Circular Economy ให้ได้ มองเรื่องของ Carbon Neutral เรื่องการลดพลังงานความร้อน การใช้พลังงานทดแทน ขณะเดียวกันก็มีการทำ CSR (Corporate Social Responsibility) ควบคู่ไปด้วย

 

Dell มี CSR โปรแกรมเยอะ อันหนึ่งที่เป็นไฮไลท์เลยคือ Solar Lab โดยการใช้เทคโนโลยีของเรามาเติมเต็มช่องว่างให้กับผู้ด้อยโอกาส สมมุติว่ามีเด็กโรงเรียนในชนบทห่างไกลมากเลย ในบริเวณนั้นไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ จึงขาดโอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยี ทำอย่างไรจึงจะช่วยให้เขาเรียนรู้เทคโนโลยีได้ เพราะเทคโนโลยีสำคัญสำหรับปัจจุบันและอนาคต เด็กเหล่านั้นต้องไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

 

Dell เลยร่วมกับองค์กรที่ชื่อว่า Computer Edge  ตั้ง Solar Lab ขึ้น เป็นตู้คอนเทนเนอร์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้า ในนั้นมีก็จะมีอุปกรณ์ไฮเทคครบถ้วน เด็กที่อยู่ในชนบทห่างไกลสามารถที่จะมาเรียนรู้เทคโนโลยี แล้วเรามีผู้บริหารให้คำแนะนำโปรแกรมต่างๆ สำหรับเด็กที่สนใจเทคโนโลยีแบบทางไกล เราเริ่มไปทแล้ว 21 แห่งในกลุ่มประทศห่างไกล เช่น  กลุ่มประเทศแอฟริกา ลาตินอเมริกา ผมเชื่อว่าในอนาคตจะขยายไปที่อื่นด้วย

อยากให้เล่าถึงความท้าทายในการทรานฟอร์มธุรกิจขององค์กรในยุคนี้

หลายปีที่ผ่านมาเราตื่นเต้นกับคำว่า Digital Transformation เยอะมาก ทุกคนจะพูดถึง Digital Transformation ไปที่ไหนก็จะพูดว่าต้องการให้องค์กรเป็นดิจิทัลให้ได้ แต่จะทรานฟอร์มอย่างไรใช้อะไรในการทรานส์ฟอร์ม แล้วเราคาดหวังอะไรจากการทรานส์ฟอร์มนั้น…หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ พอพูดถึง Digital Transformation ก็โฟกัสเทคโนโลยีก่อนเลย มี AI (Artificial Intelligence) มี ML (Machine Learning)  มีเรื่องของคลาวด์ มัลติคลาวด์ IoT (Internet of Things) เชื่อว่าถ้าเอามาใช้จะสามารถทรานฟอร์มได้

 

ในความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น Digital Transformation ต้องเริ่มจาก  Digital Strategy หรือ ยุทธศาสตร์ทางดิจิทัลขององค์กรก่อน คือ การสร้างรูปแบบของความสำเร็จในอนาคตโดยมี Digital เป็นตัวซัพพอร์ตให้ประสบความสำเร็จ เช่น ร้านอาหารนำเทคโนโลยีมาใช้ในการรับอาหาร รับเมนู หรือผลิต วันนี้เราเห็นว่ามีเวนดิ้งแมชชีนและอุปกรณ์ไอทีมาช่วยเยอะขึ้น

 

พอมี Digital Strategy ที่ชัดเจนแล้ว  ถึงจะลงในรายละเอียดว่า จะบรรลุเป้าหมาย

ในยุทธศาสตร์นี้ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรบ้าง ตรงนี้มีเทคโนโลยีมากมายในปัจจุบัน ถ้าเริ่มไม่ถูก ยกตัวอย่างของ Dell เราให้คำแนะนำว่า องค์กรคุณจะลดช่องว่างระหว่างยุทธศาสตร์ทางดิจิทัลกับความเป็นจริงขององค์กรคุณได้อย่างไร จะผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร องค์กรต้องมองในภาพกว้าง จากแกนของดิจิทัล คือ ข้อมูล (Data) องค์กรมีข้อมูลที่ดีหรือยังหรือจะเก็บข้อมูลจากที่ไหน ปัจจุบันข้อมูลไม่ได้เกิดเฉพาะในองค์กร แต่เกิดอยู่ภายนอกเป็นจำนวนมากผ่าน IoT จะจัดการอย่างไร ประมวลผลอย่างไร การนำข้อมูลไปใช้จะทำอย่างไร ต้องมีเครื่องมือต่างๆ AI ML VR (Virtual reality) Metaverse และส่วนสำคัญที่สุดคือ บุคลากร ที่องค์กรคุณต้องทำ Change Manamgement

 

“ทราบไหมครับว่า Digital Transformation ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่ เพราะองค์กรบริหารจัดการ Change management ไม่ได้  ผู้นำก้าวไปแล้ว แต่การสื่อสารไม่ชัดเจน”

 

อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เรียงลำดับความสำคัญ และเป้าหมายคืออะไร บุคคลากรต้องสื่อสารให้ชัดเจน ซื้อใจบุคลากร ให้ไปทิศทางเดียวกันให้ได้ องค์กรต้องมีขั้นตอนในการเปลี่ยนผ่านที่ชัดเจน  ถ้าสกิลของทีมงานยังไม่เพียงพอ ต้องมีการอัพสกิล รีสกิล ต้องดึงคนใหม่ๆ ที่มีความสามารถเข้ามา ค่อยๆ ทรานฟอร์มองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนให้ได้ อันนี้เป็นแนวคิดเรื่องการทรานฟอร์มธุรกิจ

องค์กรต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแค่ไหน

ช้าไม่ได้แล้วครับ จากเดิมที่เราคาดการณ์ไว้ในปี 2030 แต่ดังที่กล่าวว่า ปัจจัยต่างๆ เร่งเร้าให้เกิดเร็วขึ้น ผมว่าในปี 2023 ทุกอย่างจะเร่งสปีดเต็มที่ วันนี้เราออกจากโรคระบาดแล้ว ทุกองค์กรทั่วโลกกำลังเดินหน้าด้วยสปีดที่เร็วมาก คู่แข่งรอบข้างเราทุกคนใส่เกียร์เดินหน้าแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนเกียร์ แล้วก็เดินหน้าให้เร็วที่สุด 2023 จะเป็นปีเริ่มต้นที่ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงด้วยสปีดที่รวดเร็ว

 

สำหรับประเทศไทย 95% องค์กรของไทยเนี่ยมี Data แล้วนะครับแต่ว่ามีแค่ 5% ที่เป็น Data Champion คือสามารถที่จะเอา Data มาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ

Dell เข้ามาซัพพอร์ทการทรานฟอร์มได้อย่างไรบ้าง

Dell เป็นบริษัทที่นำเสนอโซลูชันทางด้านไอทีแบบครบวงจร ตั้งแต่เรื่องของอุปกรณ์ เรามีอุปกรณ์ที่ทันสมัย อุปกรณ์ที่ดีนอกจากใช้งานได้ไม่มีปัญหาแล้ว ยังต้องดูเรื่องของการจัดการอุปกรณ์ว่า จัดการได้ง่ายหรือไม่ เพราะวันนี้ทุกคนต้องทำงานจากที่บ้าน จากนอกสถานที่ ดังนั้นอุปกรณ์จึงต้องมีรบบรักษาความปลอดภัยทีดี มีความทนทานเพียงพอ สามารถจัดการได้ง่ายเพราะคงไม่สามารถเรียกทีมไอทีซัพพอร์ทไปได้ทุกที่

 

นอกจากเรื่อง Data และ Data Center นำข้อมูลที่เรามีอยู่จัดเก็บและบริหาร ต้องมีระบบป้องกันข้อมูล และความปลอดภัย มีเรื่องสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล มีเรื่องเอดจ์ คอมพิวเติ้ง ทำอย่างไรถึงจะเก็บข้อมูลที่อยู่นอก Data Center แล้วก็นำมาวิเคราะห์แบบเรีลไทม์ได้

 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องคลาวด์ เอดจ์ คอมพิวติ้ง ทูคลาวด์  ทำอย่างไรให้ลูกค้าสามารถที่จะใช้ศักยภาพเต็มที่จาก คลาวด์ได้ เขาอาจจะมี Data Center มีคลาวด์ที่เป็นทั้งไพรเวทคลาวด์ และพับลิกคลาวด์ บางส่วนอาจจะมีแอปพลิเคชันไปอยู่บนพับลิกคลาวด์ เป็น SaaS (Software as a Service) เหล่านี้เป็นระบบนิเวศน์แบบมัลติคลาวด์ องค์กรถึงจะสามารถออฟติไมซ์ benefit หรือ ผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จาก

 

พราะฉะนั้นเราให้คำปรึกษา แล้วก็ช่วยลูกค้าในการที่จะก้าวข้ามผ่าน ความท้าทายนี้ แล้วก็เข้าสู่กระบวนการทรานส์ฟอร์มได้อย่างถูกต้อง และประสบความสำเร็จ

คนรุ่นใหม่ควรต้องเตรียมตัวอย่างไร

ผมมีงานวิจัยตัวหนึ่งที่ Dell ทำเมื่อสองสามปีที่แล้ว เรื่องของ Gen z คือเด็กรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นหลังปี 1996 ขึ้นมา ซึ่งพบว่าในปี 2020 เนี่ยเป็นปีแรกอย่างเป็นทางการที่เด็กกลุ่ม Gen Z  เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 20% ของประชากร นั่นหมายถึงว่า ในปัจจุบันองค์กรมีคนอยู่ 5 เจเนอร์เรชั่น แน่นอนว่าองค์กรต้องเผชิญกับช่องว่างระหว่างเจเนอร์เรชั่น

 

กลุ่ม GenZ เป็นกลุ่มที่เก่งมากเรื่องเทคโนโลยี เขาเกิดและเติบโตในยุคของดิจิทัลเทคโนโลยีอย่างแท้จริง Dell สำรวจ GenZ 12,000 คน จาก 17 ประเทศทั่วโลก โดยเป็นคนไทยประมาณ 1,000 คน กลุ่ม GenZ เป็นกลุ่มที่มีความมั่นใจมากในเรื่องเทคโนโลยีและสกิล เขาบอกว่า หากที่ทำงานมีเทคโนโลยีให้เขาใช้งานแล้ว เขาจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จแน่นอน แต่เขายังกังวลกับช่องว่างระหว่างเจเนอร์เรชั่น ฉะนั้นองค์กรจำเป็นต้องลดช่องว่างนี้

 

ตัวอย่างของ เรามีเรื่องของ Reverse Mentor เรารู้ว่า GenZ เก่งทางด้านเทคโนโลยี ส่วน Gen ก่อนหน้ามีประสบการณ์ เราจึงจัดฟอรั่มอแลกเปลี่ยน ให้เจนเก่าแชร์ประสบการณ์ สอนโค้ชประสบการณ์ให้กับเด็ก GenZ ส่วนเด็ก GenZ ก็โค้ชพี่ๆ เรื่องของเทคโนโลยี ว่าวิธีการคิดของเด็ก GenZ เป็นอย่างไร สิ่งที่ GenZ คิด คือสิ่งใหม่ที่สะท้อนว่า ตลาดกำลังจะคิดอย่างไร

 

เด็ก Gen Z สำคัญมากกับองค์กร เขาจะไวมากเลยเรื่องเทคโนโลยี แต่เขาขาดประสบการณ์ ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องใส่ประสบการณ์ให้เขา ข้อมูลจากงานวิจัยยังบอกอีกว่า 99% ของเด็กกลุ่มนี้ ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา 95% จะเลือกทำงานในองค์กรที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และ

97% อยากทำงานในองค์กรที่มีเทคโนโลยีที่ล้ำยุคมากๆ ในจำนวนนี้ มี 38% เท่านั้นที่อยากทำงานในสายไอที

 

และแค่ 39% เปอร์เซ็นต์อยากทำงานใน Cyber Security แสดงว่าเด็ก GenZ อยากทำงานในสายธุรกิจ ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย อันนี้เป็นข้อมูลสำคัญที่ทุกองค์กรต้องพิจารณา

 

ในเรื่องการจัดการองค์กรให้เหมาะสมกับ GenZ นั้น วันนี้องค์กรส่วนหนึ่งกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ 100% แต่มีองค์กรประมาณ 40-50% ที่ยังทำงานแบบผสมผสาน คือ ทำงานทั้งในออฟฟิศ และทำงานจากที่บ้าน Dell เองก็เช่นเดียวกัน Dell เองมองว่า GenZ จำเป็นจะต้องมีทักษะการเรียนรู้ชีวิตการทำงาน การปฏิสัมพันธ์กับคนเจเนอร์เรชั่นอื่นๆ ซึ่งการปฏิสัมพันธ์ของคนจะก่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับทุกองค์กร ดังนั้นการทำงานแบบรีโมท 100% เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และการเข้าทำงานที่ออฟฟิศก็ไม่ควรทำเช่นกัน

 

องค์กรยุคใหม่จึงควรผสมผสานรูปแบบการทำงานอย่างเหมาะสม และเปิดโอกาส สร้างฟอรั่มให้เด็กรุ่นใหม่ เด็ก GenZ มีโอกาสได้ทำงานปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในองค์กร  ได้พบปะพูดคุยกับเวนเดอร์ คู่ค้าแบบต่อหน้าและสร้างการทำงานแบบร่วมมือกันทำ ผมว่าอันนี้จะเป็นตัวหนึ่งที่สร้าง Soft skill ให้เด็กรุ่นใหม่ได้ เด็ก GenZ จะสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อเราพัฒนาและให้โอกาส รูปแบบการทำงานแบบนายสั่งให้ทำอาจจะไม่เหมาะกับเด็ก GenZ แล้ว การสร้างนวัตกรรม ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ ส่งเสริมแนวคิดใหม่ๆ จะช่วยให้องค์กรพัฒนาและประสบความสำเร็จ

Passion in this story